PrimMeeMy

http://primmeemy.blogspot.com/

PrimMeeMy

http://primmeemy.blogspot.com/

PrimMeeMy

http://primmeemy.blogspot.com/

PrimMeeMy

http://primmeemy.blogspot.com/

PrimMeeMy

http://primmeemy.blogspot.com/

วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557

โรคกล้วยไม้ที่สำคัญ

1.โรคเน่าดำ โรคยอดเน่า หรือ โรคเน่าเข้าไส้ (Black rot)
ลักษณะอาการ
เกิดได้ทุกส่วนของกล้วยไม้ เกือบทุกสกุล สามารถสังเกตsอาการของโรคได้ดังนี้
  • ราก : เป็นแผลสีดำ เน่า แห้ง ยุบตัวลง หรือ รากเน่าแห้งแฟบ ต่อมาเชื้อจะลุกลามเข้าไปในต้น
  • ต้น : เชื้อราเข้าทำลายได้ทั้งทางยอด และโคนต้น ทำให้ยอดเน่าดำ ถ้าทำลายโคนต้นใบจะเหลือง และหลุดร่วงจนหมด เรียกว่า โรคแก้ผ้า
  • ใบ : เป็นจุดใส ชุ่มน้ำ สีเหลือง ต่อมาสีเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แล้วเป็นสีดำในที่สุด ในสภาพที่มีความชื้นสูง แผลจะขยายใหญ่ลุกลามอย่างรวดเร็ว  เชื้อราจะสร้างเส้นใยสีขาวละเอียด บนแผลเน่าดำนั้น
  • ก้านช่อดอก : เป็นแผลเน่าดำ ลุกลามจนก้านช่อดอกหักพับ
  • ดอก : เป็นจุดแผลสีดำ มีสีเหลืองล้อมรอบแผลนั้น กรณีที่เป็นกับดอกตูมขนาดเล็ก ดอกจะเน่าแล้วหลุดจากก้านช่อ
การแพร่ระบาด
โรคนี้แพร่ได้ง่ายเนื่องจากสปอร์ของเชื้อราจะกระเด็นไปกับน้ำในระหว่างการรดน้ำ มักระบาดในฤดูฝน โดยกระเด็นไปกับน้ำฝน
การป้องกันกำจัด
  • อย่าปลูกกล้วยไม้แน่นจนเกินไป
  • ถ้าพบโรคนี้ในระยะลูกกล้วยไม้ให้แยกออก ถ้าเป็นกับต้นกล้วยไม้ที่โต ให้เผาทำลาย
  • ไม่ควรให้น้ำกล้วยไม้ตอนเย็นใกล้ค่ำ  โดยเฉพาะช่วงฤดูหนาว เพราะจะทำให้เกิดสภาพอากาศเย็น ความชื้นสูง ซึ่งเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อนี้  โรคจะแพร่ระบาดรุนแรงได้ง่ายขึ้น
  • ในกรณีที่ปลูกกล้วยไม้บนพื้นดินเหนียว ควรรองพื้นด้วยขี้เถ้าแกลบก่อนปูด้วยกาบมะพร้าว เพื่อช่วยระบายน้ำ และช่วยป้องกันไม่ให้โรคนี้ทำลายกล้วยไม้ในระยะแรก

2. โรคดอกสนิม หรือจุดสนิม (Flower rusty spot)
 ลักษณะอาการ
เป็นโรคที่พบมากในกล้วยไม้สกุลหวาย โดยจะเกิดเป็นจุดขนาดเล็ก สีเหลืองอมน้ำตาลบนกลีบดอก เมื่อจุดขยายโตขึ้นจะมีสีเข้มคล้ายสีของสนิม
การแพร่ระบาด
โรคจะระบาดอย่างรวดเร็ว ถ้ามีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานานๆ หรือมีน้ำค้างลงจัด
การป้องกันกำจัด
  • เก็บดอกกล้วยไม้ ทั้งที่ร่วงและเป็นโรคเผาทำลาย
  • น้ำที่ใช้รดกล้วยไม้ ที่ไม่ใช่น้ำประปา ควรผ่านการฆ่าเชื้อด้วยผงคลอรีน อัตรา 5 กรัม ต่อน้ำ 400 ลิตร  แล้วปล่องทิ้งค้างคืนจนหมดกลิ่น จึงนำไปใช้
  • การใช้ปุ๋ยในระยะออกดอก ควรใช้ปุ๋ยที่มีโพแทสเซียมสูง เพื่อเพิ่มความต้านทานต่อโรค หรือลดความรุนแรงของโรค

3. โรคใบปื้นเหลือง (Yellow leaf spot)
ลักษณะอาการ
เกิดจุดกลมสีเหลืองที่ใบบริเวณโคนต้น ถ้าอาการรุนแรงจุดเหล่านี้จะขยายติดต่อกันเป็นปื้นสีเหลืองตามแนวยาวของใบ เมื่อพบดูด้านหลังใบจะพบกลุ่มผงสีดำ ในที่สุดใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและหลุดร่วงจากต้น
การแพร่ระบาด
โรคนี้แพร่ระบาดมากช่วงปลายฤดูฝน จนถึงฤดูหนาว โดยสปร์จะปลิวไปตามลม หรือกระเด็นไปกับละอองน้ำที่ใช้รดต้นกล้วยไม้
การป้องกันกำจัด
  • เก็บรวบรวมใบที่เป็นโรค เผาทำลาย

4. โรคใบจุด หรือโรคใบขี้กลาก (Leaf Spot)
ลักษณะอาการ
  • กล้วยไม้สกุลแวนด้า  มีลักษณะแผลเป็นรูปยาวรีคล้ายกระสวย ถ้าเป็นมาก แผลจะรวมกันเป็นแผ่น บริเวณตรงกลางแผลจะมีตุ่มนูนสีน้ำตาลดำ  ลูบจะรู้สึกสากมือ  ชาวสวนจึงเรียกโรคนี้ว่า โรคขี้กลาก
  • กล้วยไม้สกุลหวาย  มีลักษณะแผลเป็นจุดกลมสีน้ำตาลเข้ม หรือดำ  ขอบแผลมีสีน้ำตาลอ่อน แผลมีขนาดเท่าปลายเข็มหมุด จนถึงขนาดใหญ่ประมาณ 1 เซนติเมตร  บางครั้งแผลจะบุ๋มลึกลงไป หรืออาจนูนขึ้นมาเล็กน้อย หรือเป็นสะเก็ดสีดำเกิดขึ้นได้ทั้งด้านบน และ ใต้ใบ บางครั้งอาจมีอาการเป็นจุดกลมสีเหลือง เห็นได้ชัดเจนก่อน แล้วจึงค่อยๆเปลี่ยนเป็นจุดสีดำทั้งวงกลม
การแพร่ระบาด
แพร่ระบาดได้ตลอดปี สำหรับกล้วยไม้สกุลแวนด้า ระบาดมากในช่วงปลายฤดูฝน จนถึงฤดูหนาว โดยสปอร์ของเชื้อรา  ปลิวไปตามลม หรือกระเด็นไปกับน้ำ
การป้องกันกำจัด
  • รวบรวมใบที่เป็นโรคเผาทำลาย

5. โรคเน่า (Rot)
ลักษณะอาการ
เริ่มแรกเป็นจุดฉ่ำน้ำบนใบหรือหน่ออ่อน จากนั้นแผลจะเริ่มขยายขนาดขึ้น และเนื้อเยื่อมีลักษณะเหมือนถูกน้ำร้อนลวก ใบจะพองเป็นสีน้ำตาล ขอบแผลมีสีเหลืองเห็นได้ชัดเจน ภายใน 2-3 วัน เนื้อเยื่อใบจะโปร่งแสง มองเห็นเส้นใบ ถ้าอาการรุนแรงจะทำให้กล้วยไม้เน่ายุบตายทั้งต้น
การแพร่ระบาด
ในสภาพอากาศร้อนและความชื้นสูง โรคจะแพร่ระบาดอย่างรุนแรงและรวดเร็ว
การป้องกัน
  • เก็บรวบรวมส่วนที่เป็นโรคเผาทำลาย
  • ควรปลูกกล้วยไม้ในโรงเรือนหรือใต้หลังคาพลาสติก ถ้ามีโรคเน่าระบาดให้งดการให้น้ำระยะหนึ่ง อาการเน่าจะแห้ง ไม่ลุกลามหรือระบาด

6. โรคไวรัส (Virus)
ลักษณะอาการ
อาการที่ปรากฏแตกต่างกันไปตามชนิดของเชื้อไวรัส และชนิดของกล้วยไม้ บางครั้งกล้วยไม้ที่มีเชื้อไวรัสอยู่อาจจะแสดงอาการหรือไม่แสดงอาการออกมาให้ปรากฏก็ได้  ลักษณะอาการที่มักพบบ่อยๆมีดังนี้
1. ลักษณะใบด่าง ตามแนวยาวของใบ มีสีเขียวอ่อนผสมสีเขียวเข้ม
2. ยอดบิด ช่วงข้อจะถี่สั้นแคระแกร็น
3. ช่อดอกสั้น กลีบดอกบิด เนื้อเยื่อหน่าแข็งกระด้าง บางครั้งกลีบดอกจะมีสีซีดตรงโคนกลีบ หรือ ดอกด่างซีด ขนาดเล็กลง
การแพร่ระบาด
เชื้อไวรัสแพร่ระบาดได้ง่ายโดยติดไปกับเครื่องใช้ต่างๆ เช่น มีด กรรไกร ที่ใช้ตัดหน่อเพื่อขยายพันธุ์ หรือใช้ตัดดอกและตัดแต่งต้น
การป้องกันกำจัด
1. ถ้าพบต้นกล้วยไม้อาการผิดปกติดังกล่าว ใหเแยกออกแล้วนำไปเผาทำลาย อย่านำไปขยายพันธุ์
2. ทำความสะอาดเครื่องมือเครื่องใช้ทุกครั้งที่มีการตัดแยกหน่อ หรือดอก โดยจุ่มในน้ำสบู่ น้ำผงซักฟอกทุกครั้งเพื่อฆ่าเชื้อก่อน
3. ควรดูแลรักษาต้นกล้วยไม้ให้สมบูรณ์อยู่เสมอ
4. ควรตรวจสอบพันธุ์กล้วยไม้ก่อนนำไปขยายพันธุ์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส


7.โรคราเมล็ดผักกาด (Stem rot)
สาเหตุ  เชื้อรา Sclerotium rolfsii Sacc.
ลักษณะอาการ  
เชื้อราจะเข้าทำลายกล้วยไม้บริเวณราก หรือโคนต้น บริเวณที่ถูกทำลายจะเป็นสีเหลืองและน้ำตาล ตามลำดับ  เนื้อเยื่อจะผุเปื่อย  ถ้าอากาศชื้นมากๆ จะมีเส้นใยสีขาวแผ่ปกคลุมบริเวณโคนต้น พร้อมกับมีเมล็ดกลมๆขนาดเล็กสีเหลืองอมน้ำตาล คล้ายเมล็ดผักกาดเกาะอยู่ตามโคนต้น
การแพร่ระบาด 
ทำความเสียหายมากในฤดูฝน เชื้อราจะแพร่กระจายไปกับลมและน้ำ
การป้องกันกำจัด
ตรวจดูแปลงอย่างสม่ำเสมอ ถ้าพบต้นที่เป็นโรคให้เก็บรวบรวมแล้วเผาทำลาย
พ่น ไวตาแวกซ์ หรือ คูเลเตอร์ สารคาร์บอกซิน 75% อัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน/ครั้ง
 

เคล็ดวิธี ปลูกกล้วยไม้ ให้สวยดั่งใจ

เคล็ดวิธี ปลูกกล้วยไม้ ให้สวยดั่งใจ

เทคนิค ปลูกกล้วยไม้ ที่จะเอ่ยถึงต่อไปนี้อาจเป็นอะไรใกล้ ๆ ตัวเราเองครับ ผมเชื่อว่าหลายท่านเลี้ยงกล้วยไม้ไป ปลูกกล้วยไม้ ไปบางต้นก็สวยบางต้นก็ไม่สวย อาจเป็นเพราะเราอาจจะยังไม่เข้าใจว่า กล้วยไม้ของเราเค้าต้องการอะไร อย่างที่ได้แนะนำไปในหัวข้อแรกสุดนั่นคือให้เข้าใจกล้วยไม้เสียก่อนก่อนที่จะนำกล้วยไม้มาปลูกเลี้ยงในสถานที่ของเรา หลายคนคงเข้าใจว่ากล้วยไม้ไม่ต้องรดน้ำก็อยู่ได้ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด เนื่องจากบนดอยมีน้ำค้างหรือก้อนเมฆลอยไปมาตลอดเวลา กล้วยไม้ได้น้ำจากตรงนั้นทุกวันจึงอยู่ได้ครับ ชาวเขาเลี้ยงกล้วยไม้จึงงามกว่าเลี้ยงด้านล่างถึงแม้จะไม่ได้รดน้ำเลยก็ตาม และในหัวข้อนี้ผมจะเสนอแนะเรื่องการ ปลูกกล้วยไม้ ให้งามได้ ดั่งใจครับ
ผมได้สอบถามเรื่องการปลูกกล้วยไม้จากคุณชิเนนทรซึ่งคุณชิเนนทรได้เล่าให้ถึงฟังเรื่องของเพื่อนของท่านที่ได้ ปลูกกล้วยไม้ โดยใช้น้ำประปาเป็นแหล่งรดน้ำให้กับกล้วยไม้ กล้วยไม้ที่ได้รับน้ำประปาที่มีหินปูนหรือคอรีนบ่อย ๆ ในพักแรก ๆ อาจจะโตเร็วแต่พอผ่านไปสักระยะกล้วยไม้จะ เริ่มออกอาการไม่ยอมโต หรือไม่ก็โตช้าไปเลยครับ เนื่องจากต้นกล้วยไม้ได้รับสารอาหารที่มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไป เหมือนกับคนเราที่กินอะไรก็ตามที่เป็นพิษ มันก็จะสะสมในร่างกายเราครับและวันหนึ่งก็จะแสดงผลนั้น ๆ ออกมา เช่นเดียว กัน สารเคมี ที่ไม่ใช่อาหารเช่นคอรีน หรือ หินปูน จะไปอุดบริเวณส่วนดูดซึมต่าง ๆ ของกล้วยไม้ทำให้กล้วยไม้ได้รับอาหารไม่เต็มที่กลายเป็นต้นแคระแกรนไป ที่บ้านผมเองก็เช่นกัน ผมได้นำกล้วยไม้รุ่นเดียวกันส่วนหนึ่งของ ที่บ้านของผมซึ่งออกมาจากขวดเดียวกันให้กับคุณชิเนนทรได้ลองเลี้ยงดู ผลเปรียบเทียบ น้ำที่บ้านของคุณชิเนนทร ทำให้กล้วยไม้พันธุ์ที่นำไปฝากเลี้ยงโตขึ้นอย่างเหลือเชื่อและมีดอกภายใน 1 ปี ! ในขณะต้นที่บ้านผมยังต้นยาวเพียง 1 คืบ และยังไม่มีดอก แถมรากยังไม่ยาวดูดีมีสุขภาพอีกต่างหาก ทั้ง ๆ ที่ก็ให้ปุ๋ยเช่นกันแท้ ๆ ครับ
ดังนั้น น้ำจึงเป็นสิ่งที่สุดก็ว่าได้ แม้กล้วยไม้ที่จะได้รับตากแดดแรงจ้าหนักหน่วงเพียงได หากได้รับน้ำที่เหมาะสมแล้ว กล้วยไม้ก็สามารถปรับสภาพและยืนต้นตระหง่านท้าแสงแดดได้อย่างไม่สะทกสะท้านครับ หลักการ ปลูกกล้วยไม้ ให้สวยได้ ดั่งใจนั้นไม่ได้ยากเลยครับ กล้วยไม้เดิมทีมีความสวยในตัวเป็นเอกลักษณ์ของเขาอยู่แล้ว แต่ความสวยที่เขามีอยู่นั้นขึ้นอยู่ว่าตัวผู้เลี้ยงสามารถดึงออกมาได้เพียงได กล่าวได้คือ กล้วยไม้จะสวยได้ ขึ้นอยู่กับความรักและความขยันของตัวผู้เลี้ยง ที่มีต่อกล้วยไม้ของเราที่เราปลูกดูแลอยู่นั่นเองครับ

สิ่งที่คุณควรจะหมั่นดูแลเอาใจใส่กล้วยไม้ เพื่อให้เค้าได้ผลิดอกสวยงามอย่างที่คาดหวังไว้นั้นมีหลัก ๆ ดังนี้<
1. วิธีการปลูก คุณต้องปลูกกล้วยไม้ชนิดนั้น ๆ ให้เหมาะสมกับชนิดพันธุ์ เช่น รองเท้านารี เครื่องปลูกต้องเป็น อิฐมอญ ถ่าน หรือทรายที่ผสมกัน ไม่ใช่ดินล้วน !
2. บริเวณที่นำกล้วยไม้ไปห้อยแขวนต้องได้รับแสงพอเพียง ไม่ร่มสนิดเกินไป ไม่ถูกแสงแรงเกินไป
3. น้ำที่ใช้รดกล้วยไม้ ถ้าเป็นไปได้ควรจะเป็นน้ำที่ผ่านการพักในบ่อกักอย่างน้อย 1 - 2 คืน
4. ปุ๋ย ควรหมั่นให้ทุก ๆ 1 สัปดาห์ หากเจอแมลงหรือรารบกวนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรให้ยาด้วย
5. หมั่นตรวจคอยดูแลว่ามีโรคแทรงแซงหรือไม่ หรือมีอาการป่วยผิดปกติ หากพบให้รีบแยกออกจากต้นอื่น ๆ โดยด่วน

หลัก ๆ วิธีการเลี้ยงกล้วยไม้ให้สวยงามก็มีเพียงเท่านี้เองครับ ที่เหลือคือขึ้นอยู่กับเราว่าเราจะขยันมากหรือขยันน้อย เซียนที่เลี้ยงกล้วยไม้เก่ง ๆ จะตื่นกันตี 4 ตี 5 เพื่อมารดน้ำให้ปุ๋ยกล้วยไม้ในยามเช้าครับ แล้วคุณพร้อมที่จะตื่นแต่เช้ามารดน้ำให้ปุ๋ยกล้วยไม้ ในตอนเช้ามืดกันแล้วหรือยัง ?

การเลือกซื้อกล้วยไม้

การเลือกซื้อกล้วยไม้



-การเลือกซื้อกล้วยไม้สำหรับมือใหม่

1. ควรศึกษาสกุลของกล้วยไม้คร่าวๆ รวมทั้งอุปนิสัยของแต่ละสกุล เช่น สกุลหวายเป็นกล้วยไม้รากกิ่งอากาศ, สกุลช้างเป็นกล้วยไม้อากาศ

2. ควรเริ่มปลูกกล้วยไม้กลุ่มที่มีราคาถูก, ปลูกง่าย, ออกดอกทั้งปี เพื่อมีกำลังใจในการปลูกกล้วยไม้ชนิดอื่นๆ เช่น หวายตัดดอกลูกผสมต่างๆ, 

3. ควรเลือกซื้อกล้วยไม้ที่ปลูกมาแล้วจะง่ายกว่าซื้อไม้ที่ยังไม่ได้ปลูกมาปลูกเอง

4. ถ้าไม่แน่ใจยังไม่ควรซื้อมาปลูก ควรไปศึกษามาก่อนว่าปลูกได้หรือไม่ในสถานที่ๆเราอยู่ เพราะส่วนใหญ่กล้วยไม้ชนิดนั้นๆมักจะมีขายอยู่หลายสัปดาห์ หรือถามผู้รู้ในเรือนกล้วยไม้

5. จำไว้เสมอว่ากล้วยไม้ต้องการการดูแลรักษา ปล่อยทิ้งไว้มักจะตาย

6. ไม่ควรซื้อกล้วยไม้ทีละมากๆเพราะจะปลูกไม่ทัน และมักจะตายในที่สุด

7.กล้วยไม้ที่แนะนำให้เลี้ยงในกรุงเทพ

การกระจายพันธุ์

พืชในวงศ์กล้วยไม้นั้นสามารถพบได้ทั่วโลก มีถิ่นอาศัยในหลายๆภูมิประเทศยกเว้นทะเลทรายและธารน้ำแข็ง โดยส่วนมากจะพบในเขตร้อนของโลก คือเอเชีย,อเมริกาใต้ และอเมริกากลาง นอกจากนั้นยังพบเหนืออาร์กติก เซอร์เคิลในตอนใต้ของพาทาโกเนียและยังพบบนเกาะแมคควารี ซึ่งใกล้กับทวีปแอนตาร์กติกา
การกระจายพันธุ์โดยสังเขปมีดังนี้:
  • อเมริกาเขตร้อน: 250 - 270 สกุล
  • เอเชียเขตร้อน: 260 - 300 สกุล
  • แอฟริกาเขตร้อน: 230 - 270 สกุล
  • โอเชียเนีย: 50 - 70 สกุล
  • ยุโรปและเอเชียเขตอบอุ่น: 40 - 60 สกุล
  • อเมริกาเหนือ: 20 - 25 สกุล
 

วิธีการปลูกและการอนุรักษ์

ปลูกในพื้นที่ที่เป็นป่า ต้องคัดเลือกพันธุ์กล้าไม้ ที่เหมาะสมกับพื้นที่และมีสภาพแข็งแรง
กล้วยไม้เป็นต้นไม้ที่มีขนาดพอเหมาะสม  การเลี้ยงกล้วยไม้เป็นงานอดิเรกจึงสามารถกระทำได้แม้ในบริเวณสวนหลังบ้านซึงมีที่ดินเพียงเล็กๆ น้อยๆหรือแม้แต่ตามซุ้มต้นไม้ตลอดจนไม้ยืนต้นที่ปลูกในบริเวณบ้าน หากมีสภาพโปร่งให้แสงแดดส่องลงได้พอสมควรก็สามารถใช้เป็นที่ปลูกกล้วยไม้ได้  กล้วยไม้จึงเป็นไม้ดอกไม้ประดับบ้านให้สวยงามได้อย่างดีบ้านนับเป็นปัจจัยสำคัญของชีวิตและครอบครัวบ้านที่มีพันธุ์ไม้สวยงามพอสมควรเป็นสิ่งประดับ ย่อมจะช่วยให้บ้านมีความน่าอยู่ยิ่งขึ้น จิตใจของคนที่อยู่ในบ้านย่อมมีความแจ่มใสบุตรหลานในครอบครัวซึ่งจะเติบโตขึ้นมาในอนาคตจะได้พบเห็นสิ่งที่ดี เสริมสร้างจิตใจในชีวิตประจำวัน   และถ้าได้มีการฝึกอบรมให้ บุตรหลานได้มีจิตใจรักและช่วยดูแลทำนุบำรุงสิ่งเหล่านี้เป็นงานประจำแล้วย่อมเป็นสิ่งที่บังเกิดผลดีในอนาคต
           หลักสำคัญอย่างหนึ่งของชีวิตคนในสังคมทั่วๆไป  ก็คือคนเราจะอยู่แต่ลำพังคนเดียวไม่ได้  จำเป็นต้องมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างบุคคลต่อบุคคลครอบครัวต่อครอบครัวและระหว่างประเทศต่างๆ ที่จะต้องอยู่ร่วมกันในโลกนี้ ทุกวันนี้มนุษย์เราจึงพยายามหาจุดแห่งความสนใจร่วมกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์  และความเข้าใจดีระหว่างกันและกันอันเป็นหลักการและแนวทางที่จะมุ่งไปสู่ความสงบของมวลมนุษยชาติวงการกล้วยไม้ในแต่ละประเทศหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศที่มีความเจริญทางจริยธรรมพอสมควร  ได้มีการพัฒนากล้วยไม้ตามแนวทางดังกล่าวนี้ด้วยดังจะเห็นได้ว่ามีประเทศต่างๆทั่วโลกเป็นจำนวนมากให้ความสนใจเลี้ยงกล้วยไม้  และมีสมาคม ผู้เลี้ยงกล้วยไม้   เพื่อเป็นศูนย์รวมทางจิตใจ  และมีการแลกเปลี่ยนความรู้  ประสบการณ์  ตลอดจนพันธุ์ไม้ต่างๆระหว่างกัน    นอกจากนั้น   ยังได้มีการสร้างสรรค์และเพิ่มพูนความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของวงการกล้วยไม้ระหว่างประเทศดังจะเห็นว่าได้มีการจัดการประชุมกล้วยไม้ระหว่างประเทศในภาคพื้นยุโรปขึ้นทุกๆ ๓ ปีโดยหมุนเวียนไปตามประเทศต่างๆ ที่อยู่ในภูมิภาคนั้นและได้มีการริเริ่มงานชุมนุมกล้วยไม้โลกขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.๒๔๙๗ ณ เมืองเซนต์หลุยส์ กล้วยไม้เหมือนพันธุ์ไม้ที่พบทั่วๆไปทั้งหลาย   ซึ่งมีความต้องการน้ำ  ปุ๋ย   และการเลี้ยงดูตามสมควร   กล้วยไม้ประเภทที่มีรากอากาศนั้น   มีผิวรากหนา  และมีคุณสมบัติอุ้มน้ำได้มาก จึงสามารถอยู่ในอากาศได้ดี   และยังดูดความชื้นจากอากาศบางส่วนได้ด้วย    โดยปกติในสภาพฝนฟ้าอากาศโปร่งและแจ่มใสการรดน้ำให้กล้วยไม้วันละครั้งในเวลาเช้าอย่างทั่วถึง    นับว่าเป็นการเพียงพอ    ส่วนปุ๋ยนั้นโดยทั่วๆไป     ควรมีการให้ปุ๋ยละลายน้ำรดกล้วยไม้ประมาณสัปดาห์ละ ๑  ครั้ง   และใช้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารหลักไนโตรเจน  ฟอสเฟต  และโพแทสเซียม ในอัตราส่วนประมาณเท่าๆ กัน  ปุ๋ยผสมนี้ควรเป็นปุ๋ยที่ละลายน้ำได้ดี  และใช้ในอัตราประมาณร้อยละ ๐.๑-๐.๕  ของปริมาณน้ำก็นับว่าเป็นการเพียงพอ การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชใน  การเลี้ยงกล้วยไม้เป็นสิ่งพึงระมัดระวังเป็นพิเศษ  เพราะสารเคมีเหล่านี้เมื่อมีพิษมีภัยต่อศัตรูกล้วยไม้ได้ฉันใด    ก็ย่อมมีพิษมีภัยต่อชีวิตคนได้ฉันนั้น    การเลี้ยงกล้วยไม้เป็นงานอดิเรกทั่วๆไป   ย่อมมีเรือนหรือสวนกล้วยไม้อยู่ในบริเวณบ้าน  การใช้ยาอันตรายทั้งหลาย จึงเป็นการเสี่ยงต่อชีวิตคนในครอบครัวและสัตว์เลี้ยงเป็นอย่างยิ่งจึงขอแนะนำว่า    คนเลี้ยงต้นไม้ที่ฉลาดและมีเหตุผลนั้น  จะให้ความสนใจเลี้ยงและทะนุบำรุงต้นไม้  ให้เจริญแข็งแรงและสมบูรณ์ มีความต้านทานศัตรูได้ดีอยู่เสมอ  ดีกว่าการใช้ยาป้องกันกำจัดศัตรู   การใช้ยาจึงควรให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ  และพิจารณาปฏิบัติเมื่อมีความจำเป็นจริงๆ
                 วิธีการปลูกเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยบังคับการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ ถ้าใช้วิธีการปลูกที่ไม่เหมาะสม กล้วยไม้ก็ไม่เจริญงอกงามเท่าที่ควร ดังนั้นผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้จึงจำเป็นต้องศึกษาความต้องการของกล้วยไม้แต่ละชนิด เลือกภาชนะปลูกและเครื่องปลูก รวมทั้งวิธีการปลูกให้เหมาะสมกับกล้วยไม้ชนิดนั้นๆ
 วัสดุที่ใส่ลงไปในภาชนะที่ใช้ปลูกกล้วยไม้ เป็นที่เก็บอาหาร เก็บความชื้น หรือปุ๋ยของกล้วยไม้ และเพื่อให้รากของกล้วยไม้เกาะ ลำต้นจะได้ตั้งอยู่ได้ เครื่องปลูกที่เหมาะสมกับลักษณะการเจริญเติบโตของรากกล้วยไม้จะทำให้กล้วยไม้เจริญเติบโตได้ดีและแข็งแรง เครื่องปลูกที่นิยมใช้มีดังนี้
                เป็นเครื่องปลูกที่นิยมใช้ปลูกกล้วยไม้มาก เพราะหาง่าย ราคาถูก เหมาะที่จะใช้อัดลงในกระถางดินเผาสำหรับใช้ปลูกกล้วยไม้รากกึ่งอากาศเช่น กล้วยไม้สกุลหวาย สกุลคัทลียา วิธีทำคือใช้กาบมะพร้าวแห้งที่แก่จัดและมีเปลือก อัดตามยาวให้แน่นลงในกระถาง ตัดหน้าให้เรียบ แล้วใช้แปรงลวดปัดหน้าให้เป็นขน เพื่อให้ดูดซับน้ำดีขึ้น เครื่องปลูกกาบมะพร้าวเป็นเครื่องปลูกที่ได้ความชื้นสูง เหมาะสำหรับกล้วยไม้ปลูกใหม่ เพราะจะทำให้ตั้งตัวเร็ว จึงทำให้กล้วยไม้เจริญงอกงามเร็วกว่าปลูกด้วยเครื่องปลูกชนิดอื่นๆ แต่มีข้อเสียคือมีอายุการใช้งานได้ไม่นาน คือมีอายุใช้งานได้เพียงปีเดียวเครื่องปลูกก็ผุ ข้อเสียอีกอย่างหนึ่งคือเกิดตะไคร่น้ำได้ง่าย เนื่องจากกาบมะพร้าวอมความชื้นไว้ได้มาก จึงควรรดน้ำให้น้อยกว่าเครื่องปลูกชนิดอื่น
  ถ่านไม้จัดเป็นเครื่องปลูกกล้วยไม้ที่ดีชนิดหนึ่ง เพราะหาง่าย ราคาไม่แพง คงทนถาวร ไม่เน่าเปื่อยผุพังง่ายและดูดอมน้ำได้ดีพอเหมาะไม่ชื้นแฉะเกินไป ยังช่วยดูดกลิ่นที่เน่าเสียและทำให้อากาศบริสุทธ์อีกด้วย แต่มีข้อเสียคือมักจะมีเชื้อราอยู่ ในการใช้ถ่านเป็นเครื่องปลูกกล้วยไม้ ถ้าเป็นกล้วยไม้ที่มีระบบรากแบบรากกึ่งอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลหวาย สกุลแคทลียา ควรใช้ถ่านป่นซึ่งเป็นก้อนเล็กๆ ผสมกับอิฐ หรือใช้อิฐหักรองก้นกระถางประมาณครึ่งกระถาง แล้วใช้ถ่านป่นใส่ทับข้างบนจนเต็มหรือเกือบเต็มกระถาง จากนั้นจึงเอากล้วยไม้ปลูกโดยวางทับไว้บนถ่านอีกชั้นหนึ่ง สำหรับถ่านที่ใช้ปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากแบบรากอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้า สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ ถ้าเป็นกล้วยไม้ขนาดเล็กหรือยังเป็นลูกกล้วยไม้อยู่ เช่น มีขนาดสูงไม่เกิน 3 นิ้ว ควรใส่ถ่านก้อนเล็กๆ หรือใส่ถ่านป่นไว้บ้างพอสมควร แต่ถ้าเป็นกล้วยไม้ที่มีขนาดโดแล้วควรใส่ก้อนใหญ่ๆ ไว้ประมาณ 5-10 ก้อน เพื่อช่วยอุ้มความชุ่มชื้นไว้ให้กล้วยไม้ การที่ใส่ถ่านก้อนโตๆ จำนวนเล็กน้อยในการปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากแบบรากอากาศก็เพื่อต้องการให้บริเวณภายในกระถางมีช่องว่างมากๆ และโปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก ซึ่งเหมาะแก่ความต้องการหรือความเจริญเติบโตของกล้วยไม้ที่มีระบบรากอากาศ
             คือการล้างลูกกล้วยไม้จากการเพาะเนื้อเยื่อออกจากขวดเพาะแล้วล้างให้หมดเศษวุ้นอาหาร นำจุ่มลงในน้ำยานาตริฟินในอัตราส่วนน้ำยา 1 ส่วนต่อน้ำสะอาด 2,000 ส่วน แล้วนำไปผึ่งให้แห้งในที่ร่ม แยกลูกกล้วยไม้ออกเป็น 2 ขนาด คือ ขนาดเล็กกับขนาดใหญ่พอจะปลูกลงในกระถางนิ้ว
              ลูกกล้วยไม้ขนาดเล็กให้ปลูกในกระถางหมู่หรือกระถางดินเผาทรงสูงขนาด 4-6 นิ้ว รองก้นกระถางด้วยถ่านขนาดประมาณ 1 นิ้ว สูงจนเกือบถึงขอบล่างของกระถาง แล้วโรยทับด้วยออสมันด้าหนาประมาณ 1 นิ้ว ให้ระดับออสมันด้าต่ำกว่าขอบกระถางประมาณครึ่งนิ้ว ใช้มือข้างหนึ่งจับไม้กลมๆ เจาะผิวหน้าออสมันด้าในกระถางให้เป็นรูลึกและกว้างพอสมควร ใช้มืออีกข้างหนึ่งจับปากคีบ คีบลูกกล้วยเบาๆ เอารากหย่อนลงไปในรูที่เจาะไว้ ให้ยอดตั้งตรง แล้วกลบออสมันด้าลงไปในรูให้ทับรากจนเรียบร้อย ควรจัดระยะห่างระหว่างต้นให้พอดี กระถางหมู่ขนาดปากกว้าง 4 นิ้ว ปลูกลูกกล้วยไม้ได้ประมาณ 40-50 ต้น ในกระถางขนาด 1 นิ้ว ใช้ไม้แข็งๆ ค่อยๆ แคะออสมันด้าในกระถางตามแนวตั้งออกมาใช้นิ้วมือรัดเส้นออสมันด้าให้คงเป็นรูปตามเดิม ค่อยๆ แบะออสมันด้าให้แผ่บนฝ่ามือ หยิบลูกกล้วยไม้มาวางทับ ให้โคนต้นอยู่ในระดับผิวหน้าตัดของออสมันด้าพอดี หรือต่ำกว่าเล็กน้อย แล้วรวบออสมันด้าเข้าด้วยกัน นำกลับไปใส่กระถางตามเดิม เสร็จแล้วนำเข้าไปเก็บไว้ในเรือนเลี้ยงลูกกล้วยไม้ สำหรับลูกกล้วยไม้ขนาดเล็กที่อยู่ในกระถางหมู่มาเป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือนขึ้นไป มีลำต้นใหญ่แข็งแรงพอสมควรแล้วควรย้ายไปปลูกลงในกระถางนิ้ว โดยนำกระถางหมู่ไปแช่น้ำประมาณ 10 นาที ค่อยๆ แกะรากที่จับกระถางและเครื่องปลูกออก แยกเป็นต้นๆ นำไปปลูกลงในกระถางนิ้วเช่นเดียวเมื่อลูกกล้วยไม้ในกระถางนิ้วมีรากเจริญแข็งแรงดี มีใบยาวประมาณข้างละ 2 นิ้ว ซึ่งจะใช้เวลาในการปลูกประมาณ 6-7 เดือน ก็นำไปลงปลูกในกระเช้าไม้ขนาด 3-5 นิ้ว ด้วยการนำกระถางนิ้วไปแช่น้ำประมาณ 5-10 นาที เพื่อให้แกะออกจากกระถางได้ง่าย ใช้นิ้วดันที่รูก้นกระถาง ทั้งต้นและออสมันด้าจะหลุดออกมา มือข้างหนึ่งจับออสมันด้าและลูกกล้วยไม้วางลงตรงกลางกระเช้าที่เตรียมไว้ มืออีกข้างหนึ่งหยิบก้อนถ่านไม้ขนาดพอเหมาะใส่ลงไปในช่องระหว่างออสมันด้ากับผนังของกระเช้าให้พยุงลำต้นได้ นำไปแขวนไว้ในเรือนกล้วยไม้

ที่มาและความสำคัญ

กล้วยไม้มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “orchid” น่าแปลกที่ทั้งในภาษาไทยและอังกฤษต่างก็มีความหมายใกล้เคียงกัน เราเรียกพืชชนิดนี้ว่า กล้วยไม้ เพราะมีลักษณะ คล้ายกล้วย ได้แก่เอื้องต่าง ๆ เช่น เอื้องผึ้ง หรือเอื้องคำ ซึ่งมีมากในแถบภาคเหนือของประเทศ ส่วนของกล้วยไม้บางตอนมีลักษณะคล้ายผลกล้วยเราเรียกว่า ลำลูกกล้วย คำ “orchid” นั้น มาจากภาษากรีกหมายความถึงลักษณะโป่งเป็นกระเปาะคล้ายต่อมชื่อนี้ก็คงจะได้มาจากการพิจารณาจากลำลูกกล้วยที่เป็นส่วนของกล้วยบางชนิดเช่นเดียวกันแต่ลักษณะพื้นฐานทาง พฤกษศาสตร์ ที่บรรยายลักษณะพืชในวงศ์กล้วยไม้ ได้ยึดถือรายละเอียดต่าง ๆ ของดอกเป็นหลักสำคัญพันธุ์ไม้ในวงศ์กล้วยไม้ด้วย กล้วยไม้มีสภาวะความเป็นอยู่ตามธรรมชาติแตกต่างกัน บางชนิดอยู่บนพื้นดินบางชนิดอยู่บนต้นไม้ และบางชนิดขึ้นอยู่บนหินที่มีหินผุและใบไม้ผุ ตกทับถมกันอยู่ ทั้งนี้สุดแล้วแต่ลักษณะและอุปนิสัยของกล้วยไม้แต่ละชนิด ซึ่งจะปรับตัวตามความเหมาะสมกับสภาวะและการเปลี่ยนแปลงตามสภาพต่าง ๆ ของธรรมชาติที่แวดล้อม

พันธ์ของกล้วยไม้

พันธุ์กล้วยไม้
          ได้มีการส่งเสริมให้นำเอาพันธุ์ไม้  ซึ่งชนรุ่นก่อนๆได้นำเข้ามาจากต่างประเทศ  มาพิจารณาเน้นความสำคัญในด้านการผลิตเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ  ร่วมกันไปกับการชักจูงให้ประชาชนได้สนใจพันธุ์กล้วยไม้พื้นเมืองที่มีอยู่ในประเทศไทย เพื่อนำมาคัดพันธุ์  ผสมพันธุ์ และผลิตลูกผสมใหม่ๆ แปลกๆ   ออกมาสู่สังคมทั้งในและต่างประเทศด้วย
          สกุลกล้วยไม้ที่นิยมเลี้ยงกันในประเทศอย่างแพร่หลายมีตัวอย่างเช่น สกุลหวาย คัทลียา  ออนซีเดียม (Oncidium)แวนดา  ฟาแลนอปซิส (Phalaenopsis) รินคอสไทลิสหรือสกุลช้าง (Rhynchostylis) แมลงปอลาย (Arachnis) แอสโคเซนทรัมหรือเข็ม (Ascocentrum) และแวนดอปซิส (Vandopsis) เป็นต้น  กล้วยไม้สกุลต่างๆ ตามที่ได้ยกตัวอย่างมานี้ทั้งหมด  แม้จะมีบางสกุลและบางชนิดซึ่งถูกนำมาจากภูมิภาคอื่นของโลก แต่ก็ได้ปรากฏผลว่า เจริญงอกงามดีในสภาพแวดล้อมของประเทศไทย จึงได้มีการส่งเสริมให้ประชาชนสนใจ และผสมพันธุ์ผลิตกล้วยไม้ลูกผสมใหม่ๆ  มีลักษณะสวยงามในแบบแปลกออกไปอย่างกว้างขวาง ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศหนึ่งซึ่งมีผลงานผสมพันธุ์กล้วยไม้เมืองร้อน เป็นที่รู้จักแพร่หลายในประเทศต่างๆทั่วโลก

กล้วยไม้

กล้วยไม้ หรือ เอื้อง เป็นพืชดอกที่มีความหลากหลายมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง โดยมีประมาณ 880 สกุล และประมาณ 22,000 ชนิดที่มีการยอมรับ(อาจมากกว่า 25,000 ชนิด)[1]คิดเป็น 6–11% ของพืชมีเมล็ด[2] มีการค้นพบราวๆ 800 ชนิดทุกๆปี มีสกุลใหญ่ๆคือ Bulbophyllum (2,000 ชนิด), Epidendrum (1,500 ชนิด), Dendrobium (1,400 ชนิด) และ Pleurothallis (1,000 ชนิด) สายพันธุ์ของกล้วยไม้ที่ขึ้นและเติบโตในป่าเรียกว่า กล้วยไม้ป่า
กล้วยไม้จัดอยู่ในกลุ่มพืชใบเลี้ยงเดี่ยว อยู่ในวงศ์กล้วยไม้ มีลักษณะการเติบโตแบบต่างๆ ได้แก่
  • กล้วยไม้อากาศ คือ กล้วยไม้ที่เกาะอาศัยอยู่บนต้นไม้อื่น โดยมีรากเกาะอยู่กับกิ่งไม้หรือลำต้น
  • กล้วยไม้ดิน คือ กล้วยไม้ที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดินที่ปกคลุมด้วยอินทรีย์วัตถุ
  • กล้วยไม้หิน คือ กล้วยไม้ที่ขึ้นตามโขดหิน

ประวัติส่วนตัว

ประวัติส่วนตัว 
ชื่อ นายวรท ภัทธิยธนี
ชื่อเล่น พีม 

วัน/เดือน/ปีเกิด 26/กรกฎาคม/2542 
สีที่ชอบ ฟ้า
อาหารที่ชอบ ก๋วยเตี๋ยว 
งานอดิเรก เล่นดนตรี 
ศึกษาโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา